หลักสูตร / ค่าเรียน

คอร์สติวสอบเข้ามหาวิทยาลัย

คอร์สติวสอบเข้ามหาวิทยาลัย



TCAS

TCAS คือ ระบบการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาใหม่ เรียกว่า Thai university Central Admission System (TCAS)

ระบบ TCAS

  • เป็นการจัดระบบ และระเบียบ การรับเข้าศึกษาของสถาบันอุดมศึกษาแบบโควตาหรือรับตรง ซึ่งมีการจัดการโดยอิสระมาเป็นการจัดการอยู่ภายใต้ระบบเดียวกันรวมทั้ง Admission
  • นักเรียนยังเตรียมตัวเหมือนเดิม ไม่มีการสอบแบบใหม่ เพียงแต่ลดการสอบ GAT/PAT ไป 1 ครั้ง (และลดการสอบที่มหาวิทยาลัยจัดสอบเอง) โดยการสอบของข้อสอบกลางทั้งหมดจะเลื่อนไปสอบหลังจากที่เด็กชั้น ม.6 เรียนจบการศึกษาแล้ว
  • มีการ Clearing-House ทุกรอบ ทุกสถาบันเข้าร่วม จากเดิมมี 1 รอบ และบางสถาบันเข้าร่วม ระบบนี้สร้างมาเพื่อไม่ให้ผู้ที่ผ่านการคัดเลือกหลายๆที่พร้อมกัน “กันที่” ของคนอื่นนั่นเอง

หลักการสำคัญของ TCAS

  • นักเรียนควรอยู่ในห้องเรียนจนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
  • ผู้สมัครแต่ละคนมีเพียง 1 สิทธิ์ ในการตอบรับในสาขาวิชาที่เลือก เพื่อความเสมอภาค
  • สถาบันอุดมศึกษาทุกแห่งสังกัดกระทรวงศึกษาธิการจะเข้าระบบ Clearing House เพื่อบริหาร 1 สิทธิ์ ของผู้สมัคร

การคัดเลือกของทั้งประเทศจะมีทั้งสิ้น 5 รอบ ได้แก่

รอบที่ 1 การรับด้วย Portfolio โดยไม่มีการสอบข้อเขียน

เป้าหมาย นักเรียนทั่วไปนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษ นักเรียนโควตา นักเรียนเครือข่าย

วิธีการ  ให้นักเรียนยื่นสมัครโดยตรงกับสถาบันอุดมศึกษา สามารถ Pre-Screening แล้วสัมภาษณ์ได้

รอบที่ 2 การรับแบบโควตาที่มีการสอบข้อเขียนหรือข้อสอบปฏิบัติ

เป้าหมาย นักเรียนที่อยู่ในเขตพื้นที่หรือโควตาของโรงเรียนในครือข่าย และโครงการความสามารถพิเศษต่างๆ

วิธีการ นักเรียนยื่นสมัครโดยตรงกับสถาบันอุดมศึกษาและเข้ารับการคัดเลือกตามเกณฑ์การสอบ  ต้องใช้ข้อสอบร่วมสามัญ 9 วิชา และ/หรือ GAT/PAT อาจมีวิชาเฉพาะได้

รอบที่ 3 การรับตรงร่วมกัน

เป้าหมาย นักเรียนในโครงการกลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย (กสพท.) โครงการอื่น ๆ และนักเรียนทั่วไป

วิธีการ ยื่นสมัครกับ ทปอ. ทปอ.เป็นหน่วยกลางใน

การรับสมัคร นักเรียนสามารถเลือกได้ 4 สาขาวิชาโดยไม่เรียงลำดับ แต่ละสถาบันอุดมศึกษากำหนดเกณฑ์การรับเอง และจัดการสอบในเวลาเดียวกัน

รอบที 4 การรับแบบ Admission

เป้าหมาย นักเรียนทั่วไป

วิธีการ ทปอ.เป็นหน่วยกลางในการรับสมัคร นักเรียนสามารถเลือกสมัครได้ 4 สาขาวิชา แบบมีลำดับ โดยใช้เกณฑ์ค่าน้ำหนักตามที่ประกาศไว้ล่วงหน้า 3 ปี

รอบที 5 การรับตรงอิสระ

เป้าหมาย นักเรียนทั่วไป

วิธีการ ยื่นสมัครกับสถาบันอุดมศึกษาโดยตรงด้วยวิธีการของสถาบันเอง เพื่อเปิดโอกาสให้นักเรียนได้เรียนต่อ


คอร์สติวสอบ GAT, PAT

       Admission  คือ ระบบกลางการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา (CentraI University Admissions System : CUAS) หรือระบบแอดมิสชั่นส์กลาง ที่ใช้ทำการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาปีการศึกษา 2549 แทนระบบเอ็นทรานซ์ที่ใช้อยู่เดิม โดยมีองค์ประกอบเพื่อใช้เป็นเกณฑ์

            ในการพิจารณาคัดเลือกผู้สมัครเข้าศึกษา ในมหาวิทยาลัย ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) ได้กำหนดองค์ประกอบ และค่าน้ำหนักในการคัดเลือกเข้าศึกษา
ในสถานศึกษาระดับอุดมศึกษาด้วยระบบกลาง (Admissions) ประกอบด้วย 1. GPAX  2. O-NET  3. GAT  4. PAT  รวม 100 %

1.
 O-NET (Ordinary National Education Test) หรือการสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน ในตอนนี้จะพูดถึงการสอบ O-NET ในระดับชั้น ม.6 เพียงอย่างเดียว O-NET ม.6 คือ การวัดผลของโรงเรียนแต่ละโรงเรียนว่า ได้สอนนักเรียนของตัวเองตามหลักสูตรกระทรวงขนาดไหน ข้อสอบ O-NET นี้จะเป็นข้อสอบง่ายๆ ที่วัดเฉพาะพื้นฐานจริงๆ เท่านั้น

2. GAT
(Genetal Aptitude Test) หรือมีชื่อเป็นภาษาไทยสั้นๆ ว่า การสอบความถนัดทั่วไป ซึ่งจะเน้นเนื้อหาทางด้าน การอ่าน เขียน คิดวิเคราะห์การแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ รวมไปถึงการสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษ ข้อสอบ GAT นี้จะมีความซับซ้อนมากกว่าความยาก

3. PAT
 (Professional Aptitude Test) หรือมีชื่อเป็นภาษาไทยสั้นๆว่า การสอบความถนัดเฉพาะด้าน/วิชาการ เป็นข้อสอบที่ยากที่สุดในสามตัวที่พูดถึง วิชาเฉพาะด้านที่มีสอบคือ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ พื้นฐานวิศวกรรม พื้นฐานสถาปัตยกรรม พื้นฐานความเป็นครู และวิชาด้านภาษาอื่นๆ นอกเหนือจากภาษาอังกฤษ
ความถนัดทั่วไป (GAT : General Aptitude Test/ 300 คะแนน/เวลาสอบ 3 ชม.) คือ การวัดศักยภาพในการเรียนในมหาวิทยาลัยให้ประสบความสำเร็จ 
1. เนื้อหา 
     – การอ่าน เขียน คิดวิเคราะห์และการแก้โจทย์ปัญหา (ทาง คณิตศาสตร์) 50% หรือ 150 คะแนน
     – การสื่อสารด้วยภาษา อังกฤษ (Vocabulary, Structure/Writing, Reading Comprehensive) 50% หรือ 150 คะแนน
2. ลักษณะข้อสอบ
     – ข้อสอบปรนัย และอัตนัยที่ตอบแบบปรนัย
     – ข้อสอบ เน้น Content Free และ Fair 
     – เน้นความซับ ซ้อน (Complexity) มากกว่า ความยาก 
ความถนัดทางวิชาชีพและวิชาการ (PAT : Professional and Academic Aptitude Test/ 300 คะแนน/เวลาสอบ 3 ชม.) คือ ความรู้ที่เป็นพื้นฐานที่จะเรียนต่อ กับศักยภาพที่จะเรียนในวิชาชีพนั้นๆ ให้ประสบความสำเร็จ มี 7 ประเภท 

- PAT 1 ความถนัดทางคณิตศาสตร์
เป็นโจทย์คณิตศาสตร์ที่ยากที่สุดในการสอบ Admission (ยากกว่าข้อสอบ O-Net และ 9วิชาสามัญ) นักเรียนคนไหนที่ได้คะแนนสูงๆ ถือว่ามีทักษะด้านคณิตศาสตร์ที่ดีมากๆ
เนื้อหาของข้อสอบ ประกอบด้วยบทเรียนของคณิตศาสตร์พื้นฐาน (คณิตศาตร์หลัก) และคณิตศาสตร์เสริม ทั้งหมด 17 บท ซึ่งบทเรียนที่มีเนื้อหาซับซ้อน และปริมาณมากๆ ก็จะใช้ออกข้อสอบในปริมาณที่มากตามไปด้วย เช่น เอกซ์โพแนนเชียลและลอการึทึม ความน่าจะเป็น ตรีโกณมิติ แคลคูลัส สถิติ ลำดับและอนุกรม
กลุ่มคณะที่ใช้ เช่น กลุ่มคณะวิทยาศาสตร์กายภาพ กลุ่มเกษตร-วนศาสตร์ กลุ่มบริหาร-บัญชี เศรษฐศาสตร์

- PAT 2 ความถนัดทางวิทยาศาสตร์
 เนื้อหาของข้อสอบ ประกอบด้วย 4 วิชา คือ ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา และ ดาราศาสตร์ โดยจำนวนข้อสอบของวิชา ฟิสิกส์ เคมี และชีววิทยา แต่ละวิชามีจำนวนข้อที่ค่อนข้างใกล้เคียงกัน (25-35%) ส่วนดาราศาตร์จะมีจำนวนข้อที่น้อยสุด (10-15%) เนื่องจากข้อสอบ PAT2 ประกอบด้วย 4 วิชาด้วยกัน มีผลทำให้นักเรียนจำนวนมาก เลือกทำเฉพาะวิชาที่ตนเองได้เตรียมตัวมา ดังนั้น PAT2 ถือว่ามีความยากอยู่พอสมควร เพราะปริมาณที่มากของบทเรียนในการออกข้อสอบมีคณะที่ใช้ เช่น กลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพ กลุ่มวิทยาศาสตร์กายภาพ คณะวิศวกรรมศาสตร์

- PAT 3 ความถนัดทางวิศวกรรมศาสตร์ 
เนื้อหาของข้อสอบ ประกอบด้วย 3 วิชา คือ ฟิสิกส์ (เน้นเรื่องของไหล แสง เสียง ภาคกลศาสตร์ และไฟฟ้า) เคมี (เน้นคำนวณ เช่น ปริมาณสารสัมพันธ์ กรด-เบส แก๊ส รวมถึงผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม) คณิตศาสตร์ (เน้นเรื่องแคลคูลัส สถิติ) รวมถึงการมองภาพ3มิต ิ(isometricพื้นฐาน) ก็เป็นข้อสอบด้วยเช่นกัน มีคณะเดียวที่ใช้ คือ คณะวิศวกรรมศาสตร์

- PAT 4 ความถนัดทางสถาปัตยกรรมศาสตร์ 
เนื้อหาของข้อสอบ เกี่ยวกับ isometric(PLAN PRONT SIDE)  แนวข้อสอบตรรกะ ความรู้ทั่วไป และให้วาดรูป (perspective) มีคณะเดียวที่ใช้ คือ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์

- PAT 5 ความถนัดทางวิชาชีพครู 
มีคณะเดียวที่ใช้ คือ คณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์

- PAT 6 ความถนัดทางศิลปกรรมศาสตร์
เนื้อหาเกี่ยวกับ ทฤษฎีศิลปะ ทัศนศิลป์ ดนตรี นาฏยศิลป์ มีคณะที่ใช้ คือ คณะศิลปกรรมศาสตร์ (วิจิตรศิลป์ ศิลปะประยุกต์) ดุริยางคศิลป์ และนาฏยศิลป์

- PAT 7 ความถนัดทางภาษาต่างประเทศ 
แบ่งออกเป็น 6 หมวด ดังนี้
7.1 ภาษาฝรั่งเศส      7.2 ภาษาเยอรมัน        7.3 ภาษาญี่ปุ่น
7.4 ภาษาจีน          7.5 ภาษาอาหรับ         7.6 ภาษาบาลี
มีคณะที่ใช้ เช่น กลุ่มการโรงแรมและท่องเที่ยว กลุ่มมนุษย์ฯ-อักษรฯ-สังคมศาสตร์ สำหรับการสอบ GAT PAT ค่อนข้างจะอิสระพอสมควร  ทุกคนมีสิทธิในการสอบหมด ทั้ง ม.6 เด็กซิ่ว หรือสายอาชีพ และจะสมัครกี่ครั้งก็ได้ (ปีนึงมี 2 ครั้ง) โดยอายุของคะแนนสอบ GAT  PAT อยู่ได้ 2 ปี  นั่นหมายความว่า หาก ม.6 ปีนี้ อยากซิ่วในปีหน้า คะแนนของปีนี้ก็ยังใช้ได้ โดยในการสมัครแอดมิชชั่นกลางจะมีระบุไว้ว่าใช้รอบใดได้บ้าง และในรับตรงบางคณะ จะกำหนดไว้ว่าใช้คะแนนรอบไหนได้บ้าง สามารถสมัตรสอบ Gat Pat และ ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ทาง http://www.niets.or.th/

การสอบรับตรงจุฬา เกษตร ธรรมศาสตร์ มหิดล มศว

- ข้อมูลการสอบรับตรงจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
http://admission2.atc.chula.ac.th/ 
- ข้อมูลการสอบรับตรงมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 
http://registrar.ku.ac.th/direct-admission 
- ข้อมูลการสอบรับตรงมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 
http://web.reg.tu.ac.th/registrar/home.asp 
- ข้อมูลการสอบรับตรงมหาวิทยาลัยมหิดล 
http://www.mahidol.ac.th/quota2013/1.html 
- ข้อมูลการสอบรับตรงมหาวิทยาลัย มศว ประสานมิตร 
http://admission.swu.ac.th/ 


คอร์สติวสอบ O-NET

           O-NET คือ การทดสอบการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน ซึ่งในภาษาฝรั่งก็คือ Ordinary National Education Test ที่จัดสอบโดย สทศ. (สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ ใช้ อาจารย์ระดับมัธยมปลายที่มีความเชี่ยวชาญในการออกข้อสอบ) หรือ National Institute of Educational Testing Service ตัวย่อ NIETS

           การสอบ O-NET นี้จะใช้วัดผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของโรงเรียนในสังกัดต่างๆให้เป็นมาตรฐานเดียวกันทั่วประเทศ ซึ่งก็จะใช้วัดความรู้และความคิดของนักเรียนในระดับ ป.6 ม.3 และ ม.6 โดย ที่ข้อสอบจะประกอบไปด้วยเนื้อหา 5กลุ่มสาระการเรียนรู้ (จากเดิมที่เคยมี 8กลุ่ม) ได้แก่
  1. ภาษาไทย
  2. สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
  3. ภาษาอังกฤษ
  4. คณิตศาสตร์
  5. วิทยาศาสตร์
           O-NET เป็นการทดสอบที่มีจุดหมายเดียวกัน คือประเมินคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐาน ของนักเรียนแต่ละโรงเรียน เพื่อนำข้อมูลมาทำแผนพัฒนานักเรียนให้สามารถอ่านออกเขียนได้  รู้จักคิดวิเคราะห์ เป็นการวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนแต่ละช่วงชั้น ส่วนหนึ่งเพื่อเป็นการทดสอบวัดผลการเรียนของโรงเรียนนั้นๆ 

            การสอบ O-NET ใช้ข้อสอบมาตรฐานเดียวกันทั้งประเทศ นักเรียนไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ ซึ่งแบ่งระดับการสอบออกเป็น 3 ช่วงชั้น คือ
1) ป.6 ใช้โรงเรียนที่นักเรียนเรียนอยู่เป็นสนามสอบ
2) ม.3  ใช้โรงเรียนขนาดกลางและขนาดใหญ่เป็นสนามสอบ
3) ม.6 ใช้ศูนย์สอบมหาวิทยาลัย 20 แห่งเป็นสนามสอบ โดยคะแนนจากการสอบแต่ละวิชามีความสำคัญมาก เพราะเป็นองค์ประกอบในการยื่นเลือกคณะเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา หรือ Admission กลางนั่นคือ คะแนนที่เราสอบทุกคะแนน จะเอาไปคำนวณและรวมกับ GPAX GAT PAT ให้ออกมาเป็นคะแนน Admission อีกทั้งในหลายๆคณะใน Admissionกลาง ได้กำหนดขั้นต่ำของคะแนนสอบ O-Net เอาไว้ด้วย ข้อมูลเพิ่มเติม ตรวจสอบได้ทาง http://www.niets.or.th/th/catalog/view/241

            แต่ทีผ่านมายังไม่มีการนำผลคะแนน O-Net มาใช้อย่างจริงจัง เป็นเพียงเก็บเป็นสถิติ วัดผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาเพื่อประเมินการเรียนการสอน รวมถึงการแก้ไขปัญหาระหว่างกระทรวงศึกษาธิการของ โรงเรียน และนักเรียนที่มีผลคะแนนอยู่ในเกณฑ์ต่ำ

            สทศ.ยังจัดสอบในรูปแบบคล้ายๆ กับ O-Net แต่เรียกต่างกัน เช่น โรงเรียนพระเรียก B-Net, กศน.เรียก N-Net, อาชีวะ เรียก V-Net และอิสลามศึกษา เรียก I-Net ซึ่งมีจุดมุ่งหมายของการสอบเช่นเดียวกับ O-Net นั่นเอง


คอร์สติวสอบ 9 วิชาสามัญ

            9 วิชาสามัญ คือ ระบบสอบตรงโดยใช้ข้อสอบกลางเคยมีชื่อว่า "7 วิชาสามัญ" มาก่อน ต่อมาได้มีการเปลี่ยนแปลง เพิ่มวิชาเข้ามา 2 วิชาคือ คณิตศาสตร์ของสายศิลป์ และวิทยาศาสตร์พื้นฐานของสายศิลป์ ทำให้ 9 วิชาสามัญมีจำนวนวิชาที่ใช้สอบดังนี้
1. วิชาภาษาไทย
2. วิชาสังคมศึกษา
3. วิชาภาษาอังกฤษ
4. วิชาคณิตศาสตร์ 1 (สายวิทย์และศิลป์คำนวณ)
5. วิชาฟิสิกส์
6. วิชาเคมี
7. วิชาชีววิทยา
8. วิชาคณิตศาสตร์ 2 (สายศิลป์ภาษา)
9. วิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน (สายศิลป์ภาษา) เป็นข้อสอบที่ออกโดย สทศ (สถาบันทดสอบการศึกษาแห่งชาติ) เช่นเดียวกับ GAT PAT

            การสอบ 9 วิชาสามัญนั้น ผู้สมัครต้องมีคุณสมบัติกำลังศึกษาอยู่ในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 (ม.6) หรือเทียบเท่า หรือสูงกว่า ม.6 ขึ้นไป (เด็กซิ่วสามารถสอบได้) โดยมีวิชาให้เลือกสอบทั้งหมด 9 วิชา ให้เวลาสอบวิชาละ 90 นาที (1.5 ชม.)  แต่อาจจะไม่จำเป็นต้องสอบทั้ง 9 วิชา ซึ่งคนสอบจะต้องตรวจสอบกับทางคณะ มหาวิทยาลัยที่เรายื่นคะแนนว่าเขาต้องการคะแนนวิชาไหนบ้าง

หัวข้อ Admission 9 วิชาสามัญ
  ข้อสอบ O-Net ใช้คำนวณคะแนนด้วย ไม่ใช้คำนวณคะแนน
  GPA นำมาคิดคะแนนด้วย ทำให้เด็กจากโรงเรียนที่แข่งขันสูงเสียเปรียบ ไม่นำมาคิดคะแนน แต่จะกำหนดเกณฑ์เกรดเฉลี่ยขั้นต่ำเอาไว้แทน ถ้าเกรดสูงกว่าเกณฑ์ก็สามารถยื่นคะแนนได้
  สัดส่วนคะแนนของแต่ละวิชา เท่ากันหมด สัดส่วนคะแนนแต่ละวิชาไม่เท่ากัน เช่น คณะวิศวะอาจจะให้สัดส่วนวิชาคณิตศาสตร์สูงกว่าวิชาอื่นๆ
  ความยากของข้อสอบ ยากกว่ามาก ทำให้คะแนนสอบของนักเรียนทั่วประเทศไม่ค่อยกระจาย ง่ายกว่า คะแนนกระจายกว่า
  วิชาฟิสิกส์ เคมี ชีวะ Admission รวมวิชา ฟิสิกส์ เคมี และชีวะ เข้าเป็นวิชาเดียวกันคือ PAT2 เลือกแยกสอบไม่ได้ต้องสอบรวมกันหมด  มีปัญหากับคณะสถาปัตย์บางมหาลัยไม่ต้องการให้สอบเคมี เลือกสอบได้ อิสระกว่า

หลักๆ ก็จะมีทั้งหมด 27 มหาวิทยาลัย ที่ใช้คะแนน 9 วิชาสามัญยื่นคะแนน ได้แก่
- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
- มหาวิทยาลัยขอนแก่น
- มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- มหาวิทยาลัยทักษิณ
- มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
- มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
- มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
- มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- มหาวิทยาลัยนครพนม
- มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์
- มหาวิทยาลัยนเรศวร
- มหาวิทยาลัยบูรพา
- มหาวิทยาลัยพะเยา
- มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
- มหาวิทยาลัยมหิดล
- มหาวิทยาลัยแม่โจ้
- มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
- มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
- มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
- มหาวิทยาลัยศิลปากร
- มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
- มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
- สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
- มหาวิทยาลัยรามคำแหง
- สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

            ทั้งนี้ บางมหาวิทยาลัยอาจจะเลือกใช้ข้อสอบอื่นๆ ได้ตามแต่ทางมหาวิทยาลัย ซึ่งต้องศึกษาระเบียบการก่อนการสมัครรับตรงตามโครงการต่างๆ อีกครั้งหนึ่ง


CU-BEST คืออะไร

CU-BEST คือ ข้อสอบสำหรับเข้าศึกษาต่อในระดับชั้นปริญญาโท และปริญญาเอก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในหลักสูตร MBA และการตลาด

หลักสูตรที่ต้องใช้คะแนนสอบ CU-BEST ในการยื่นสมัคร

  • หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต ภาคปกติ
  • หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต นักบริหารระดับต้น
  • หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการจัดการการบิน
  • หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตสาขาการจัดการโรงพยาบาล
  • หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศทางธุรกิจ
  • หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการตลาด
  • หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการด้านโลจิสติกส์
  • หลักสูตรบัญชีดุษฏีบัณฺฑิต

* สาหรับหลักสูตร MBA English Program จะต้องใช้ CU-BEST (English) เท่านั้น

ค่าสมัครสอบ CU-BEST

  • CU-BEST ภาษาไทย  ค่าสมัครสอบ 500 บาท จัดสอบปีละ 4 ครั้ง
  • CU-BEST ภาษาอังกฤษ ค่าสมัครสอบ 1,000 บาท จัดสอบปีละ 2 ครั้ง

ข้อสอบ CU-BEST มี 3 ตอน

ตอนที่ CU-BEST ภาษาไทย CU-BEST ภาษาอังกฤษ
  1. การวิเคราะห์ปัญหาทางธุรกิจ
  -  บทความสั้น Critical Reasoning
  -  บทความยาวประมาณ 1–2 หน้า  5 บทความ

40 ข้อ

200 คะแนน

30 ข้อ

150 คะแนน

  2. คณิตศาสตร์
  -  การใช้เหตุผล วิเคราะห์ว่าข้อมูลที่ให้มาเพียงพอหรือไม่
  -  คณิตศาสตร์ทั่วไปเป็นแบบตัวเลือก
  -  การอ่านตาราง กราฟ และแผนภูมิง่ายๆ

40 ข้อ

200 คะแนน

30 ข้อ

150 คะแนน

  3. ทักษะเชาว์ปัญญา 20 ข้อ 100 คะแนน 20 ข้อ 100 คะแนน

 

100 ข้อ 500 คะแนน 80 ข้อ 400 คะแนน

เกณฑ์การให้คะแนน ทักษะเชาว์ปัญญา

ทำถูกข้อละ 5 คะแนน ทำผิดหักข้อละ 2 คะแนน ไม่ตอบ 0  คะแนน ตอบมากกว่า 1 ข้อถูกหัก 5 คะแนน

*คะแนนสอบ CU-BEST มีอายุ 2 ปี โดยสามารถติดตามรายละเอียด กำหนดการรับสมัครและวันสอบ จากทางเว็บไซต์ www.mbachula.info


อ้างอิงจาก http://www.vcharkarn.com/varticle/43372, http://www.smart1-business.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=539645241


TU-GET คืออะไร

            เป็นการสอบวัดระดับความรู้ภาษาอังกฤษของผู้ที่ประสงค์จะสมัครเข้าเรียนในระดับปริญญาตรีหลักสูตร นานาชาติ และระดับบัณฑิตศึกษา โดยมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งผลการสอบมีอายุ 2 ปี ประกอบด้วย 

ตอนที่ 1 ความรู้ทางไวยากรณ์ (Grammar) 25 ข้อ 250 คะแนน
1.1 Sentence Completion (การเติมประโยคให้สมบูรณ์ถูกต้องตามหลักไวยากรณ์)
1.2 Error Identification (การบ่งชี้ว่าข้อเลือกใดเป็นข้อที่ผิดกฎทางไวยากรณ์)

ตอนที่ 2 ความรู้ทางด้านศัพท์ (Vocabulary) 25 ข้อ 250 คะแนน
2.1 ข้อสอบแบบ Cloze เป็นข้อสอบที่เว้นช่องว่างไว้ให้เติมคำศัพท์ที่ถูกต้องโดยเลือกจากคำศัพท์ที่กำหนดให้
2.2 ข้อสอบที่มีการขีดเส้นใต้คำในประโยคและให้เลือกคำที่มีความหมายใกล้เคียงกับกลุ่มคำที่กำหนดให้

ตอนที่ 3 การอ่านเพื่อความเข้าใจ ( Reading Comprehension) 50 ข้อ 500 คะแนน
เป็นการวัดทักษะการอ่านหลายๆ ด้าน เช่น main idea, detail information, pronoun reference, inference และ conclusion เป็นต้น

รวมทั้งสิ้น 100 ข้อ คะแนนเต็ม 1,000 คะแนน

            การสอบ TU-GET นั้น จะมีการจัดสอบโดยเฉลี่ยเดือนละครั้ง ผู้สมัครต้องสมัครสอบผ่านโปรแกรมลงทะเบียนแบบ Online ทาง Internet เท่านั้น โดยผู้สมัครสามารถสมัครผ่านทาง http://litu.tu.ac.th/TUGET/Login.aspx ค่าธรรมเนียมการสอบ 500 บาท บุคคลทั่วไปสามารถนำคะแนน TU-GET ไปใช้ได้หลายด้าน ทั้งด้านการศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก  ในด้านการศึกษาในระดับปริญญาตรีหลักสูตรนานาชาติจะต้องมีการยื่นคะแนนในบางคณะเท่านั้น กำหนดให้มีคะแนน TU-GET ขั้นต่ำอยู่ที่ ประมาณ 550 คะแนน  โดยแต่ละคณะจะมีหลักเกณฑ์แตกต่างกันไป  ขึ้นอยู่กับว่าแต่ละหลักสูตรนั้นให้ผู้เรียนใช้ทักษะระหว่างเรียนมากน้อยเพียงไร


TOEIC คืออะไร

            TOEIC เป็นแบบทดสอบที่ใช้วัดความสามารถของการใช้ภาษาอังกฤษ ในประเทศไทยหน่วยงานต่าง ๆ เช่น สถาบันการศึกษา หน่วยงานการบิน การเงิน การโรงแรมและบริษัทข้ามชาติต่างๆ ได้นำ TOEIC ไปใช้ในลักษณะต่างๆ กัน บางแห่งเพื่อคัดเลือกเข้าทำงาน บางแห่งใช้เพื่อวัดระดับความสามารถ ทางการใช้ภาษาของ พนักงาน โดยผลสอบ TOEIC สามารถใช้ได้ 2 ปี

            ปัจจุบันการสอบ TOEIC ใช้รูปแบบที่เรียกว่า Redesigned TOEIC แบ่งการสอบเป็น 2 ส่วนคือ การฟัง (Listening) และ การพูด (Reading) จำนวน 200 ข้อ คะแนนเต็มรวม 990 คะแนน เวลาในการทำข้อสอบคือ 2 ชั่วโมง ดังรายละเอียดต่อไปนี้

1. การฟัง (Listening Comprehension) มี 100 ข้อ คะแนนเต็ม 495 คะแนน เวลา 45 นาที ผู้เข้าสอบจะได้ฟังคำถาม และการสนทนาสั้นๆ เป็นภาษาอังกฤษ แล้วตอบคำถามจากสิ่งที่ได้ยิน โดยแบ่งออกเป็น 4 ส่วนย่อย ดังนี้
Part 1: Photographs 10 ข้อ 
Part 2: Question-Response 30 ข้อ
Part 3: Conversations 30 ข้อ
Part 4: Short Talks 30 ข้อ

2. การอ่าน (Reading Comprehension) มี 100 ข้อ คะแนนเต็ม 495 คะแนน เวลา 75 นาที ผู้เข้าสอบจะต้องตอบคำถามจากสิ่งที่อ่าน โดยแบ่งออกเป็น 3 ส่วนย่อย ดังนี้
Part 5: Incomplete Sentences 40 ข้อ 
Part 6: Text Completion 12 ข้อ
Part 7: Reading Comprehension 48 ข้อ

   - ผลคะแนน TOEIC สามารถนำไปใช้ได้ทั่วโลก
   - ผู้ที่ต้องการทราบทักษะด้านภาษาอังกฤษสามารถติดต่อขอสอบ TOEIC ได้ทุกวัน จันทร์-เสาร์ ตลอดทั้งปี
   - ศูนย์ TOEIC รับรองผลสอบที่มีอายุ 2 ปีนับจากวันสอบ
   - คะแนน TOEIC เริ่มจาก 10 คะแนนถึง 990 คะแนน โดยแบ่งคะแนนการฟังเป็น 5-495 คะแนนและ การอ่าน 5-495 คะแนน

            การสมัครสอบ TOEIC สามารถสมัครด้วยตัวเองที่ อาคาร BB Building  หรือโทรไปสำรองที่นั่งสอบไว้ก่อน เปิดสอบสองช่วงคือ เช้า 09.00 น.-12.00 น. และบ่าย 13.00 น.-16.00 น. เปิดสอบทุกวันยกเว้นวันอาทิตย์และวันหยุดนักขัตฤกษ์ ค่าธรรมเนียมการสอบ 1,200 บาท สำหรับ Classis TOEIC และ 1,500 บาท สำหรับ Redesigned TOEIC 

***ถ้าคุณมีคะแนน TOEIC ที่ดี 600 up เต็ม 990 สามารถมีโอกาสในการทำงาน หน่วยงานการบิน โรงแรม บริษัทข้ามชาติ การเงิน การธนาคาร ปิโตรเคมี ปตท. SCG ที่ได้เงินเดือน สูงๆ หรือ ท่านที่ต้องการ เลื่อน ตำแหน่ง, ปรับเงินเดือนให้สูงชึ้น ก็คะแนน TOEIC นี่เลย 

กลับด้านบน